1.รีเลย์ เป็นอุปกรณ์สำหรับตัดต่อวงจร ทำหน้าที่เหมือนกับสวิตช์ไฟที่ทำงานด้วยระบบไฟฟ้า โดยรีเลย์มีทั้งที่ทำงานในระบบไฟตรง DC และระบบไฟ AC แล้วจะทราบได้ไงว่ารีเลย์ตัวนี้ทำงานที่ไฟอะไร แรงดันเท่าไหร่นั้นเราสามารถดูได้จากข้อความที่ระบุบนตัวรีเลย์เลย
จากรูปที่ 1 จะเป็นรีเลย์ ที่ทำงานด้วยไฟ DC 6 V มีคอนแทคที่ทนกระแสได้ 7 A ไฟ 220 VAC 10A ไฟ 120 VDC เป็นต้น โดยการต่อใช้งานนั้นจะมีลักษณะคือต่อตามรูปที่ 2 โดยเราต้องต่อขาคอลย์ ตำแหน่ง 85 และ 86 เข้ากับไฟใช้งานที่ระบุบนตัวรีเลย์ และต่อขาคอนแทคไปใช้งาน สังเกตุเมื่อเราต่อขาคอล์ยครบวงจรจะมีเสียงสวิตช์ภายในต่อกัน
รูปที่2 ตัวอย่างการต่อวงจรรีเลย์
รีเลย์สามารถประยุกต์ไปใช้งานได้หลายวงจร เช่นวงจรตัดต่อหลอดไฟ วงจรตัดต่อมอเตอร์ต่างๆ โดขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานนำไปประยุกต์
ต่อมาเป็นเรื่องของเมกเนติกคอนแทคเตอร์ มันก็คือรีเลย์อีกรูปแบบหนึ่งครับ การทำงานเหมือนกัน แต่จุดที่แตกต่างกันคือ เมกเนติกคอนแทคเตอร์ คือสามารถทนกระแสได้มากกว่า จึงทำให้มีขนาดใหญ่ขึ้นด้วย มีทั้ง 1 เฟส และ 3 เฟส
รูปที่3 ตัวอย่าง เมกเนติกคอนแทคเตอร์ 1 เฟส
ต่อมาเป็นเรื่องของเมกเนติกคอนแทคเตอร์ มันก็คือรีเลย์อีกรูปแบบหนึ่งครับ การทำงานเหมือนกัน แต่จุดที่แตกต่างกันคือ เมกเนติกคอนแทคเตอร์ คือสามารถทนกระแสได้มากกว่า จึงทำให้มีขนาดใหญ่ขึ้นด้วย มีทั้ง 1 เฟส และ 3 เฟส
รูปจาก http://www.praguynakorn.com/ |
รูปที่4 ตัวอย่าง เมกเนติกคอนแทคเตอร์ 3 เฟส
สำหรับการใช้งานนั้น เราสามารถนำเมกเนติกคอนแทคเตอร์ ไปทำการตัดต่อวงจรที่มีกำลังงานมากๆได้ โดยเมกเนติกคอนแทคเตอร์ จะมีขาที่ต่อใช้งานสำหรับป้อนไฟควบคุมการตัดต่อ คือ ขา A1 และขา A2 เมื่อเราจ่ายไฟเข้าสองขานี้จะทำให้เมกเนติกคอนแทคเตอร์ ทำงานต่อคอนแท็ค 1 เฟส หรือ 3 เฟส ตัวอย่างการต่อวงจรใช้งานตามรูป
http://www.pacontrol.com/image/magnetic_motor_starter_control_circuit.gif รูปที่5 ตัวอย่าง การต่อใช้งานเมกเนติกคอนแทคเตอร์ |
การทำงานของวงจร เมื่อกด สวิตซ์ start ทำให้ไฟฟ้า ไหลเข้าสู่วงจร ควบคุมการทำงานของเมกเนติกคอนแทคเตอร์ ในขนาดที่หน้าสัมผัสของเมกเนติกคอนแทคเตอร์ ต่อทำให้คอนแทค M1 ที่เมกเนติกคอนแทคเตอร์ ทำงานด้วยจึงทำให้เมกเนติกคอนแทคเตอร์ ทำงานอยู่ในสภาวะค้าง และเมื่อกดปุ่ม stop จะมีผลทำให้วงจรไม่ครบวงจร ทำให้ชุดควบคุมเมกเนติกคอนแทคเตอร์ หยุดทำงาน ส่วน สวิตซ์ OL s นั้นเป็นชุดป้องกันการกินกระแสเกินของโหลด ทำงานเมื่อโหลดกินกระแสเกิน จะทำการตัดวงจรการทำงานอีกขั้นหนึ่ง
ไทม์เมอร์ คือ รีเลย์อีกชนิดหนึ่งที่มีการทำงาน โดยสามารถตั้งเวลา ในการ ON OFF คอนแท็คได้ทำเมอร์จะมีขาที่ควบคุม คือขา A1 และขา A2 เมื่อจ่ายไฟเข้าจะทำให้วงจรตั้งเวลาในเครื่องทำงาน และจะทำงานเมื่อครบเวลาที่ตั้งไว้
http://www.omron-ap.co.th/product_info/H3YN/h3yn_solidstate_timer.jpg รูปที่6 ตัวอย่าง ไทม์เมอร์ |
สำหรับการต่อใช้งานนั้นขออธิบายตามรูป
http://www.omron-ap.com/FAQ/FAQ03053/faq03053_01.jpg รูปที่6 ตัวอย่าง การใช้งานไทม์เมอร์ |
จากรูปเมื่อเริ่มกด สวิตซ์ start จะทำให้วงจรไทม์เมอร์ทำงาน เมื่อทำงานทำให้คอนแทค ของไทม์เมอร์ T/a ต่อทำให้ เมกเนติก X1 ทำงาน เมื่อ X1ทำงานจะทำให้ X1/a ทำงานด้วยทำให้ เมกเนติก x2 ทำงานเมื่อ x2 ทำงานก็จะทำให้ คอนแทค x2 /b ทำงานทำให้ตัดขาควบคุมไทม์เมอร์ออกไป